ตั้งค่า QOS

ตั้งค่า QOS
ตั้งค่า QOS

ตั้งค่า QOS

ตั้งค่า QOS ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ทางด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือไอที ระบบ Quality of Service หรือ QOS คือ การจัดการบริหารแบนด์วิธหรือช่องทางของระบบเครือข่าย หากเราลองนึกสภาพการจราจรบนถนนที่มีทางแยกซึ่งแน่นอนว่าผู้ใช้รถแต่ละคนต้องการที่จะไปก่อนต่างก็แย่งกันใช้เส้นทางทำให้กลายเป็นปัญหาการจราจรที่ไม่มีระเบียบ แต่หากมีการกำหนดสัญญาณไฟจราจร เพื่อเป็นการบริหารเส้นทางที่มีอยู่อย่างจำกัด ก็จะทำให้มีการจัดระเบียบการจราจรที่ดีขึ้น หน้าที่ของระบบ QOS นี้ก็จะมีลักษณะที่คล้ายๆ กันดังที่ได้เปรียบเทียบกับการจราจร โดยมีวัตถุประสงค์สำหรับการจัดสรรเส้นทางแบนด์วิธในระบบเครือข่ายที่มีอยู่อย่างจำกัด

การตั้งค่า QOS ในอุปกรณ์ เช่น modem, rounter, switch เป็นต้น ของยี่ห้อต่างๆ ได้มีการนำระบบ QOS เพิ่มเข้ามาใช้งาน หากเป็นการใช้งานตามบ้านพักก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่สำหรับบริษัทหรือองค์กร ย่อมจะมีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก สมมุติว่าในบริษัทแห่งหนึ่งมีเช่า ADSL Internet ไว้ที่ความเร็ว 10 mb มีพนักงานที่ต่างคนต่างใช้อินเตอร์เน็ต เช่น Email, Facebook, Line, Website, Youtube เป็นต้น ดังนั้นบริษัทไม่สามารถที่จะมามองจับผิดที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ว่าพนักงานทำอะไรอยู่ ซึ่งกรณีหากมีการทำงานที่ต้องใช้อินเตอร์เน็ตก็จะทำให้เกิดความเร็วช้า และจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันพนักงานที่ดู Facebook, Youtube ในระหว่างทำงาน

การตั้งค่า QOS จึ่งได้เข้ามามีบทบาทในเรื่องของการลดความเร็วของผู้ที่ใช้งาน หรือ จะปิดกั้นการใช้งานในช่องทางที่ถูกกำหนดไว้ สำหรับผู้ใช้งานบริษัทที่ไม่ใหญ่มากนัก ก็สามารถเลือกซื้ออุปกรณ์เครือข่ายที่รองรับการทำงานของ QOS เพื่อใช้สำหรับการบริหารเครือข่ายได้ แต่สำหรับองค์กรใหญ่ๆ ควรดูเป็นระบบ Network Monitoring and Management Software ที่มีความสามารถมากกว่าในการช่วยตรวจสอบ

โปรแกรมตั้งค่า QOS มีลักษณะดังนี้

  • ตั้งค่า QOS แบบกำหนดเป็นช่วงไอพี เช่น 192.168.1.10 – 192.168.1.50 โดยอุปกรณ์บางยี่ห้อจะใช้ การตั้งค่า QOS เป็นช่วงไอพีเพื่อกำหนดความเร็วของคอมพิวเตอร์ที่ถูกกำหนดหมายเลขไอพีไว้ ซึ่งวิธีนี้จะใช้ในอุปกรณ์พวก Switch, Rounter เป็นส่วนใหญ่ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
  • การตั้งค่า QOS แบบกำหนดชื่อของ Software หรือ Application โดยอุปกรณ์ที่ใช้ลักษณะนี้จะเป็นอุปกรณ์อีกระดับหนึ่งที่มีความสามารถเหนือกว่าแบบแรก โดยตัวระบบสามารถระบุเชื่อโปรแกรมที่ไม่ให้ใช้งานได้ เช่น ระบบการใช้ firefox, Internet Explorer, Chrome เป็นต้น ซึ่งระบบนี้ส่วนใหญ่จะเน้นเป็นการปิดกั้นการใช้งาน เหมาะสำหรับองค์กรที่มีระเบียบที่เข้มงวดกับพนักงาน จึงไม่ได้รับความนิยมมากนัก
  • การตั้งค่า QOS แบบกำหนด Port หรือช่องทางสำหรับเครือข่าย โดยปกติแล้วไม่ว่าโปรแกรมที่ใช้งานต่างๆ ก็จะมีมาตรฐาน Port เช่น FTP สำหรับโอนข้อมูลก็จะใช้ Port 21 หรือ การใช้งานอินเตอร์เน็ต ก็จะใช้งาน Port 80 และ 8080 การใช้งานรับและส่งอีเมล์ จะใช้ Port 25,110,143 เป็นต้น ซึ่งแน่นอนการที่จะ ตั้งค่า QOS ระบบนี้ได้ต้องใช้อุปกรณ์ในระดับสูงขึ้นและต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านเครือข่าย จึงเหมาะสำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่ ทำให้สามารถควบคุมและจัดสรรทรัพยกรทางเครือข่ายได้